วงคาราโอเกะ รำวงย้อนยุค แสดงสด

แรกเริ่มเดิมที “รำวงย้อนยุค” เกิดในช่วงรัชสมัยของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นการละเล่นของชาวบ้านในภาคกลางอย่าง จ.สระบุรี, อ่างทอง และชัยนาท ในช่วงหลังเก็บเกี่ยวข้าว เพราะพักผ่อนและคลายเหนื่อยล้าจากการทำนา ซึ่งเดิมทีจะเรียก “รำโทน” เพราะต้องใช้เครื่องดนตรีอย่าง “โทน” เป็นการให้จังหวะช้าๆ และเป็นเพลงสั้นๆ เล่นซ้ำไปซ้ำมา เช่น เพลงลามะลิลา, เพลงงามแสงเทียน เป็นต้น ต่อมาเมื่อท่านจอมพล ป.ได้เห็น ท่านจึงนำมาปรับโดยใส่รำวงมาตรฐาน การร่ายรำแบบไทยเข้าไป จึงออกมาเป็นศิลปะ “รำวง” กระทั่งเรียกขานกันว่า “รำวงย้อนยุค” ในปัจจุบัน 


ในอดีตการ “รำโทน” จะเน้นการจับคู่เต้น แต่เมื่อปรับแล้วเราก็จะเห็นว่าเป็นการเต้นและเดินเป็นวงกลมไปพร้อมกันหลายๆ คน ซึ่งสมัยนั้นทุกบ่ายวันพุธจะมีการเต้นรำวงย้อนยุคของข้าราชการ และเวลาที่ผู้นำประเทศไทยไปเยือนประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อเสร็จสิ้นการประชุมก็จะมีการรำวงเพื่อความผ่อนคลายและความสัมพันธ์ที่ดี จึงทำให้การ “รำวง” เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยในแง่ของการเผยแพร่วัฒนธรรมไปสู่ต่างประเทศ และยังเป็นการกิจกรรมที่ใช้เลื่อนขั้นเลื่อนยศของข้าราชการยุคก่อนเลยก็ว่าได้ หรือเป็นข้อปฏิบัติซึ่งคล้ายกับกฎหมายยกเลิกกินหมากในสมัยรัชกาลที่ 5 กระทั่งหมดยุคการปกครองของจอมพล ป.พิบูลสงคราม และเข้าสู่ยุคของ “จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์” กิจกรรมรำวงก็ได้หายไป กระทั่งถูกนำมาพื้นฟูในอีกช่วงไม่กี่ปีมานี้ โดยประยุกต์เป็นกิจกรรมออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ซึ่งก็ได้การตอบรับที่ดีทั้งในแง่ของสุขภาพและอนุรักษ์วัฒนธรรมการร่ายรำของไทยให้คงอยู่กับเยาวชนรุ่นใหม่

ที่มา: https://www.thaipost.net/main/detail/1767

รายชื่อศิลปิน/ นักดนตรีวงดนตรีคาราโอเกะ รำวงย้อนยุค และวงแสดงสดในจังหวัดสุพรรณบุรี